เบื้องหลังกลายเป็นเศร้า ปู่บุกสำนักงานการศึกษา หลานสาวหัวกะทิ สอบได้ 47/750 คะแนน แต่เห็นสิ่งที่เขียนลงกระดาษ รู้เลยเด็กวางแผนมาแล้ว… สำนักข่าว SOHA […]
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาหญิงวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก 2025
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล FIVB Women’s World Championships 2025 ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ซึ่งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ได้นำเรื่องการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล์ FIVB Women’s World Championships 2025
ทำเนียบรัฐบาล
ายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เสนอในที่ประชุมใหญ่สามัญของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองปอร์โต้ สาธารณรัฐโปรตุเกส และจะต้องแจ้งยืนยันการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล FIVB Women’s World Championships 2025 ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปยังสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2567 และได้กำหนดให้มีพิธีจับฉลากแบ่งสายภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2567
นายคารม กล่าวว่า การเป็นเจ้าภาพดังกล่าวสอดคล้องกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ที่ระบุว่ารัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการสานต่อความสำเร็จในการปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอวีซ่า เช่น กลุ่มผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) และกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานทางไกล (Digital Nomad) ซึ่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 1.892 ล้านล้านบาท ในปี 2566 โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Destinations) เช่น สวนน้ำ สวนสนุก ศูนย์การค้า สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) นำคอนเสิร์ต เทศกาล และการแข่งขันกีฬาระดับโลกมาจัดในประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองน่าเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเม็ดเงินมหาศาลที่จะกระจายลงสู่ผู้ประกอบการภายในประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยการเป็นเจ้าภาพมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
(1) กำหนดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล FIVB Women’s World Championships 2025จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 7 กันยายน 2568
(2) สถานที่จัดการแข่งขัน ณ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร)
(3) ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 32 ทีม ประกอบด้วย
(3.1) ประเทศไทย (เจ้าภาพ 1 ทีม)
(3.2) สาธารณรัฐเซอร์เบีย (แชมป์เก่า 1 ทีม)
(3.3) ทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศ และอันดับ 3 จากชิงแชมป์ของทั้ง 5 ทวีป รวมเป็น 15 ทีม ได้แก่
ทวีปเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศทูร์เคีย ราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ และสาธารณรัฐอิตาลี
ทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และสาธารณรัฐแคเมอรูน
นอร์เซกา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สมาพันธ์รัฐแคนาดา และสาธารณรัฐโดมินิกัน
ทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอาร์เจนตินา และสาธารณรัฐโคลอมเบีย
(3.4) ทีมคะแนนสะสมอันดับโลก (FIVB World Ranking) ที่ยังไม่ผ่านเข้ารอบ 15 ทีม ได้แก่ สาธารณรัฐโปแลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรเบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เครือรัฐปวยร์โตรีโก สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐคิวบา ราชอาณาจักรสวีเดน สหรัฐเม็กซิโก สาธารณรัฐสโลวีเนีย สาธารณรัฐสโลวัก ราชอาณาจักรสเปน และสาธารณรัฐเฮลเลนิก
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่สายตาประชาคมโลก ผ่านการถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนนานาชาติ ให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของประเทศในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเกิดการหมุนเวียนในระบบ และ 2. ประเทศไทยจะมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางติดตามชมการแข่งขัน มีโอกาสนำเสนอความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย รวมทั้งมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้แทนองค์กรกีฬาต่าง ๆ และผู้สังเกตการณ์ ประมาณ 768,300,000 บาท มูลค่าด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียทั่วโลก จากจำนวนผู้เข้าชมโดยรวมประมาณ 1,300,000,000 คน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,596,500,000 บาท และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศประมาณ 2,070,900,000 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวทั้งสิ้นประมาณ 8,435,700,000 บาท