จากกรณี ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ข้าราชบริพารในพระองค์ นั้น
โปรดเกล้าฯประกาศหลักเกณฑ์การดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ข้าราชบริพารในพระองค์
วันนี้ 19 พ.ย.67 จะพามาทำความรู้จัก นางสนองพระโอษฐ์ กันว่าตำแหน่งนี้มีหน้าที่และความหมายอย่างไร สำหรับ นางสนองพระโอษฐ์ นั้น เป็นตำแหน่งของสุภาพสตรีสูงศักดิ์ หมายถึงสตรีผู้ช่วยส่วนพระองค์ในราชสำนัก ซึ่งถวายการรับใช้แด่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิง หรือสตรีสูงศักดิ์ นางสนองพระโอษฐ์ มักจะมีพื้นหลังมากจากครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมสูง แต่มีฐานันดรต่ำกว่าสตรีที่ตนรับใช้ ซึ่งแม้ว่านางสนองพระโอษฐ์คนใดจะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม มักจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นคนรับใช้หรือข้าราชบริพาร
นางสนองพระโอษฐ์ จากความหมายของ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี นางสนองพระโอษฐ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนข้าราชบริพารสตรีอื่นที่มิได้ดำรงตำแหน่งพิเศษ อาจเรียกว่า “ข้าหลวง” ทั้งนี้ สตรีเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะเจ้าจอมหรือบาทบริจาริกา
บทบาทภาระหน้าที่
ภาระหน้าที่ของนางสนองพระโอษฐ์มีความหลากหลาย แต่ภาระหน้าที่ตามประวัติศาสตร์ของนางสนองพระโอษฐ์มักถูกมอบหมายตามความชำนาญส่วนตัว เช่น ความชำนาญในการวางตนเหมาะสมกับมารยาท ภาษา การเต้นรำ ซึ่งเป็นที่นิยมในราชสำนักขณะนั้น การรับผิดชอบงานด้านเลขานุการ การมอบหมายงานตามกระแสรับสั่งแก่ข้าราชบริพารคนอื่นๆ และการร่างกระแสพระราชเสาว์นีย์ การเย็บปักถักร้อย การวาดภาพ การขี่ม้า การเล่นดนตรี การดูแลงานด้านฉลองพระองค์ (เสื้อผ้า) การควบคุมเหล่าข้าราชบริพารผู้มีตำแหน่งต่ำกว่า การดูแลพระชายาหรือพระสนมพระองค์อื่น เป็นต้น
ประเทศไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นางสนองพระโอษฐ์โดยมากจะเป็นราชสกุล เป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินและความรู้อยู่พอสมควร แต่เดิมมีความผาสุกและมีผู้รับใช้ช่วยเหลือให้สะดวกสบาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงจะทรงนำบุคคลเหล่านี้มาทรงอบรมและให้มารู้จักความยากลำบาก ทรงนำนางสนองพระโอษฐ์ตามการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อให้ได้พบเห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงของประชาชนทั่วไป
ความสำคัญของตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์
ตำแหน่งนี้สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงในระบบราชการไทยในอดีด ซึ่งมีหน้าที่ไม่เพียงแต่ดูแลความเรียบร้อยของฝ่ายในเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่างๆ ในพระราชสำนัก เช่น การจัดการพิธีสำคัญทางศาสนา การดูแลทรัพย์สินของฝ่ายใน และการประสานงานระหว่างราชสำนักกับบุคคลภายนอกในด้านจาร็ดและวัฒนธรรม ตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ยังช่วยรักษาประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัฏิบัติในราชสำนัก เช่น การจัดงานราชพิธีต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดอ่อนและความชำนาญเฉพาะด้าน
ขอบคุณข้อมูล ‘พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ.2554’ – ‘วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี’