ฟุตบอล ชิงแชมป์อาเซียน 2024 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม เอ วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567 […]
สรุปคำว่า “จัญไร” และ “จังไร” ต้องใช้กรณีไหน ความหมายเหมือนกันหรือไม่ รู้ไว้ใช้ด่าให้ถูกเรื่อง!
คำด่าที่ว่า “จัญไร” หรือ “จังไร” หากเป็นคนไทยคงได้ยินกันมาจนคุ้นหู อย่างไรก็ดี คำทั้งสองนี้ทั้งเขียนต่างกันและออกเสียงต่างกันอยู่นิดหน่อย ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดคำถามว่าสรุปต้องใช้คำไหน? จึงจะด่าได้อย่างถูกต้อง ถูกความหมายที่ต้องการสื่อสารออกไป
เพจเฟซบุ๊ก คำไทย ได้โพสต์ยืนยันว่าทั้ง “จัญไร” หรือ “จังไร” ล้วนเป็นคำที่สามารถใช้ได้อย่างถูกต้องทั้งคู่ โดยมีความหมายเดียวกันคือ เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล มีที่มาจากภาษาเขมรว่า ចង្រៃ “จงฺไร” และคำว่า “จัญไร” เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมา โดยแผลงมาจากคำว่า “จังไร” อีกทีหนึ่ง
ซึ่งในส่วนของคอมเมนต์ใต้โพสต์ดังกล่าว มีชาวเน็ตที่อยู่ในพื้นที่หลายคนเข้ามาช่วยยืนยันว่า เป็นคำแผลงมาจากภาษาเขมรจริงๆ และสมัยเด็กก็ถูกผู้เฒ่าผู้แก่ด่าบ่อยๆ ในขณะที่บางคนแสดงความคิดเห็นว่า ในบริบทภาษาไทยส่วนใหญ่จะใช้ด่ากับเรื่องทะลึ่งลามกมากกว่า เพราะถ้าใช้ในบริบทความหมายของมันจริงๆ จะรู้สึกว่ามันโบราณ
“ใช่ค่ะ ในฐานะเขมรสุรินทร์ โดน(ยาย)ด่าบ่อย”
“เขมรมีคำว่า สัตว์จังไร หมายถึง สัตว์ที่ทำความเดือดร้อนรำคาญ รวมพวกยุง แมลง”
“นึกว่าคำเลี่ยงให้หยาบน้อยลง สรุปใช้ได้เลย”
“ชาวไทยแท้เลือดบริสุทธิ์ ไม่ถูกใจสิ่งนี้”
“ภาษาไทย มักใช้ในบริบท ทะลึ่ง ทำอะไรแปลก ๆ ขำ ๆ มากกว่า”
“แม้จะใช้ได้ทั้งสองคำ แต่ชอบใช้คำว่าจัญไรมากกว่า เพราะเวลาพูดออกเสียงได้เต็มปากเต็มคำกว่าจังไร ยิ่งใช้คู่กับเสนียดแล้วยิ่งรู้สึกชัดเจนในความหมายมาก เสนียดจัญไร”
“ในบริบทภาษาไทยส่วนใหญ่จะใช้กับเรื่อง ทะลึ่ง ลามกมากกว่า ถ้าใช้ในบริบทความหมายของมันจริงๆ จะรู้สึกว่ามันโบราณ”