เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 67 ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า “ยังจำคดี ที่มีลุงคนหนึ่ง โทรมาหาผมตอนดึก ขณะที่ผมกำลังนอนฟอกเลือดอยู่ ว่ามีอุบัติเหตุ ถูกรถเก๋งของทหารคนหนึ่งขับชน โดยลุงได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ทหารที่เป็นคู่กรณี และตำรวจพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี บังคับให้ลุงเซ็นหนังสือยินยอมรับสภาพ ได้เปรียบเทียบปรับ โดยทหารจะเยียวยา ให้ลุงแค่ 3,000 บาท แต่ให้ลุงเป็นฝ่ายรับผิด
ลุงส่งหนังสือนั้นมาให้ผมทางข้อความ ให้ผมช่วยดู ผมเห็นว่า มันเป็นการเอาเปรียบ จึงไม่ให้ลุงเซ็น แต่จู่ๆ ก็มีเสียงพูดขึ้นมาแทรก ในระหว่างที่ผมกำลังคุยโทรศัพท์กับลุงว่า #ทนายเกิดผลเสือกอะไรด้วย
จากตอนแรกผมจะไม่เสือก เมื่อได้ยินอย่างนั้น ผมก็เลยขอเสือกด้วย โดยบอกให้ลุงกลับมาก่อน และจะมาพบพนักงานสอบสวน พร้อมกับทนายความใหม่
หลังจากออกจากโรงพยาบาล ผมก็โทรประสานงานกับพนักงานสอบสวน ขอให้คู่กรณีมาพบ เพื่อไกล่เกลี่ย หรือเพื่อดำเนินคดี พนักงานสอบสวนนัดหมายให้มาพบกันเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว แต่เมื่อถึงเวลา คู่กรณีกลับไม่มาตามนัด และพนักงานสอบสวนให้เลื่อนนัดไปก่อน เพื่อนัดใหม่วันหลัง
เมื่อ 3 วันก่อน ผมไปตามคดี ปรากฏว่า #พนักงานสอบสวนเล่นตุกติก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พอมีทนายความเข้ามาในคดีนี้ พนักงานสอบสวนกับทหารคนนั้น เล่นตุกติกใช้เทคนิคทางกฎหมาย
โดย พนักงานสอบสวน ให้นายทหารคนนั้น #ชิงรับสารภาพ แล้วพนักงานสอบสวน ใช้อำนาจเปรียบเทียบปรับไป 400 บาท ซึ่งความผิดของทหารคนนั้น เป็นความผิดฐาน ประมาทเป็นผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 มีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ประกันเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ชอบ กล่าวคือ ในความผิดลหุโทษ หากพนักงานสอบสวน จะเปรียบเทียบปรับ #ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายเสียก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 38 การที่พนักงานสอบสวน ให้ทหารชิงรับสารภาพและเปรียบเทียบปรับไป โดยการเปรียบเทียบปรับ ผู้เสียหายไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย จึงเป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ การเปรียบเทียบปรับดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ทำให้คดีอาญาระงับไป
เรื่องนี้ ลุงไม่ยอมและผมก็ไม่ยอม คู่กรณีตอนนี้ คือพนักงานสอบสวนโดยตรง และศาลที่จะต้องขึ้น คือศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติผิดชอบ บอกแล้วว่าอย่าให้ผมเสือก”