กลายเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจล้นหลาม ภายหลังจากมีชาวต่างชาติช่อง TikTok @imlukematthew ได้ออกมาอัดคลิปพร้อมตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับการจราจรของประเทศไทย ซึ่งเขียนแคปชั่นระบุว่า “Does Thai culture […]
นับคะแนน ศึกชิงเก้าอี้นายกอบจ.ขอนแก่น สูสี “พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์” อดีตนายกอบจ. 6 สมัย คะแนนมาเป็นอันดับ 1
วันที่ 3 พ.ย.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 19.00 น. การคะแนนการเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่นอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า
หมายเลข 2 นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกอบจ.ขอนแก่น 6 สมัย คะแนนนำมาเป็นที่ 1 โดยได้คะแนนอยู่ที่ 41,358 คะแนน
ส่วนหมายเลข 1 นายวัฒนา ช่างเหลา คะแนนตามมาเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 32,645 คะแนน
และหมายเลข 3 นายโตบูรพา สิมมมาทัน คะแนนมาเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 5,190 คะแนน
ขณะที่บรรยากาศการนับคะแนนที่ อบจ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง อบจ.ขอนแก่น โดยแต่ละหน่วยนับคะแนนจะมีการส่งคะแนนมาที่นี่เพื่อนับคะแนนสรุปอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อรอการประกาศผลอย่างเป็นทางการ จากกกต.ขอนแก่นอีกครั้ง ซึ่งล่าสุดยังไม่มีหน่วยไหนส่งข้อมูลเบื้องต้นเข้ามา
ขณะที่การวิเคราะห์ผู้สมัครทั้ง 3 คน พบว่าคนแรกผู้สมัครเบอร์ 1 นายวัฒนา ช่างเหลา ประธานสโมสรฟุตบอลขอนแก่นยูไนเต็ด และเป็นอดีต สส.ขอนแก่นเขต 2 ในนามพรรคพลังประชารัฐ ก่อนจะย้ายมาอู่พรรคภูมิใจไทย และในวันสมัครเจ้าตัวได้ประกาศชัดว่าชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย จึงหันมาเป็นสมัครเป็นสมาชิก โดยหลายคนมองว่ากระแสความนิยมในพรรคจะสามารถช่วยดึงคะแนนในการลงชิงเก้าอี้นายกอบจ.สมัยนี้ได้ ซึ่งฟังจากประวัติคร่าวๆเหมือนจะอยู่ในเวทีการเมืองใหญ่ แต่จริงๆแล้วนายวัฒนา ก็เคยดำรงตำแหน่งรองนายก อบจ.ขอนแก่น ก่อนที่จะลาออกไปลงเล่นการเมืองระดับชาติ
ต่อมาหมายเลข 2 นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกอบจ.ขอนแก่น 6 สมัย รอบที่แล้วชนะการเลือกตั้งล่าสุดเมื่อปี 2563 ชนะผู้ลงท้าชิงที่มีมากถึง 10 คน และมากที่สุดในประเทศ แต่นายพงษ์ศักดิ์ ก็ชนะด้วยคะแนนกว่า 3 แสนคะแนน ซึ่งหลายคนยังคงมองว่าฐานเสียงของอดีตนายกอบจ.6 สมัยนี้ยังแข็งแกร่งอยู่
ส่วนคนที่ 3 นายโตบูรพา สิมมาทัน เคยลงสนามการเลือกตั้งการเมืองระดับประเทศ แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่ได้รับโอกาสในการเป็นตัวแทนจากสนามการเลือกตั้งด้านการเมือง แต่ก็นับว่าเป็นอีกบุคคลที่มีโปรไฟล์เป็นจิตอาสาของคนในพื้นที่เขตเมืองขอนแก่น แม้จะไม่ได้หวังผลการชนะ แต่นายโตบูรพา ก็บอกว่ามาลงเป็นตัวเลือกสำหรับคนขอนแก่น ซึ่งก็ทำให้การเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่นครั้งนี้ นับว่าน่าสนใจและเป็นสีสันของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ทั้งนี้แต่ละคนอาจจะมีโปรไฟล์ที่น่าสนใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการเรียกคะแนนเสียงจากชาวขอนแก่น เพราะสิ่งสำคัญที่ประชาชนจะเทคะแนนให้กับผู้สมัคร คือเรื่องของนโยบายสาธารณะ ซึ่งประวัติของบุคคลที่ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งท้องถิ่นตอนนี้กระแสพรรคการเมืองระดับประเทศ อาจจะไม่ได้เป็นเป็นชี้วัดผลแพ้ชนะซะทีเดียว และอาจจะเป็นเพียงปัจจัยรองในการนำมาตัดสินใจลงคะแนน ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มอายุ 18-30 ปี คนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มเลือกผู้สมัครหน้าใหม่พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในการบริหารท้องถิ่น
ส่วนกลุ่มอายุ 30-50 ปี กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ พวกเขาพิจารณาทั้งประสบการณ์และแนวคิดใหม่ๆในการเลือกผู้สมัคร
และกลุ่มอายุ 50 ปี ขึ้นไปกลุ่มที่มีแนวโน้มเลือกผู้สมัครคนเดิมพวกเขาให้ความสำคัญกับความมั่นคงและประสบการณ์ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือก ตั้งประกอบด้วยนโยบายของผู้สมัครแนวทางการพัฒนาจังหวัดที่ชัดเจน และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน มีผลต่อการตัดสินใจต่อมาเป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานผลงานที่ผ่านมาของผู้สมัครเป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางกลุ่มและภาพลักษณ์และการสื่อสาร การนำเสนอตัวเองของผู้สมัครผ่านสื่อต่างๆมีผลต่อความน่าเชื่อถือในสายตาประชาชน.