
จากกรณี วันที่ 4 ก.ย. 67 นายโชคชัย อายุ 34 ปี เจ้าของบ้านผู้เสียหาย […]
เรื่องราวของ “ท้าวหิรัญพนาสูร” มีการเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อเรื่องคำทำนายโรคระบาด 100 ปี ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติอยู่ในขณะนี้ ท้าวหิรัญพนาสูรคือใคร มีความเป็นมาอย่างไร มีปาฏิหาริย์อย่างไร เดี๋ยวแอดเล่าให้ฟัง
ท้าวหิรัญพนาสูร คือใคร
เชื่อกันว่าท้าวหิรัญพนาสูร คือ อสูรเทพรูปร่างกำยำใหญ่โต เป็นผู้มีสัมมาปฏิบัติที่คอยติดตามล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เพื่อปกปักรักษาและป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้แก่พระองค์ เมื่อครั้งพระองค์ประพาสต้องเดินทางเข้าไปในป่าลึก ทำให้ข้าราชบริพารและผู้ติดตามต่างรู้สึกเกรงกลัวอันตราย รัชกาลที่ 6 ทรงคลายกังวลด้วยการตรัสว่า ยามที่เจ้านายใหญ่โตประพาสในที่ต่างๆ จะมีเทพ เทวดา หรืออสูรที่มีสัมมาทิฐิตามทำนองคลองธรรม คอยช่วยติดตามเพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดภัยอันตราย
ในคืนนั้นเอง มีผู้ติดตามท่านหนึ่งฝันเห็นชายรูปร่างกำยำใหญ่โต เข้ามาบอกว่าตนเป็นอสูรชาวป่า มีชื่อว่า “หิรันย์” จะขอติดตามเสด็จรัชกาลที่ 6 และดูแลปกปักรักษามิให้อันตรายใดๆ มากล้ำกราย เมื่อตื่นจากฝัน ผู้ติดตามจึงทูลเรื่องนี้แก่พระองค์ท่าน หลังจากทรงทราบ รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้จัดเครื่องเสวยตั้งเซ่นแก่อสูรหิรันย์ และทำพิธีเชิญติดตามเสด็จจนกลายเป็นธรรมเนียม เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ท้าวหิรัญพนาสูร”
ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปหล่ออสูรตนนี้ขึ้น เพื่อประดิษฐาน ณ พระราชวังพญาไท โดยมี “ขุนหิรัญปราสาท” อดีตมหาดเล็กเป็นต้นแบบ คือขุนหิรัญปราสาท นามเดิมคือ “ตาบ” (ตาบ พรพยัคฆ์) นามเดิมคือ “ตาบ” นายตาบเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่และมีกำลังวังชาแข็งแรงมาก เมื่ออายุได้ 18 ปี พระพี่เลี้ยงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (รัชกาลที่ 6) จึงพาเข้าเฝ้าเพื่อถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
จึงมีความเชื่อและศรัทธาต่อๆมาว่า ท้าวหิรัญพนาสูร เป็นผู้ปกป้องภยันตรายทั้งปวงแก่ผู้สักการะบูชา และไปกราบไหว้ของพร
บทสวดบูชาท้าวหิรัญพนาสูร
ก่อนเริ่ม ตั้งจิตให้เป็นสมาธิและจุดธูป หากต้องการไหว้ขอพร ให้จุดธูป 9 ดอก หากต้องการไหว้บนบาน ให้จุดธูป 16 ดอก
จากนั้น ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคาถาต่อไปนี้ “ระหินะ ภูมาสี ภะสะติ นิรันตะรัง ลาภะสุขัง ภะวันตุเม” (สวด 9 จบ)
ของไหว้สักการะท้าวหิรัญพนาสูร นิยมถวายดอกดาวเรือง ดอกไม้สด ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม หรือจะทำเป็นบายศรีดอกไม้มาถวายก็ได้ รวมถึงหมากพลู ขนมไทยโบราณ ผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อน ขนุน และสับปะรด
รูปหล่อองค์ท้าวหิรัญพนาสูร ตั้งอยู่ภายในศาลบริเวณด้านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ใกล้กับพระราชวังพญาไท ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ และยังคงมีผู้ศรัทธาแวะเวียนไปกราบไหว้อยู่เสมอ ส่วนใหญ่จะขอพรให้แคล้วคลาดภัยอันตราย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ