เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ห้องประชุมกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง อ.เมือง จ.นครพนม พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พร้อมด้วย พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ในฐานะผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผบ.นบ.ยส.24) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 3 เดือน (ต.ค. – ธ.ค.67) เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนฯ ตามมาตรการฯ และหารือประสานงาน/บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี , รมว.กลาโหม, ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 2 จัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) เป็นหน่วยหลักในการบูรณาการสกัดกั้น ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
โดยมอบหมายให้ กองกำลังป้องกันชายแดน เป็นส่วนสกัดกั้น, ตำรวจภูธร เป็นส่วนปราบปราม และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จว)เป็นส่วนป้องกัน ซึ่งการบูรณาการนี้ ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้มีประกาศให้จัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกันและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและแต่งตั้งให้แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผบ.นบ.ยส.24) มีอำนาจจัดตั้งกลไกต่างๆรองรับการสั่งการ การปฏิบัติ และประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นมา
จากผลการปฏิบัติที่ผ่านมาสามารถสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จึงประกาศกำหนดพื้นที่มีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและผู้รับผิดชอบเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปึงบประมาณ 2568 ให้หน่วยบัญชาการสกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) รับผิดชอบพื้นที่อำเภอชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด 25 อำเภอ ตามมาตรา 5 (10) แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิบัติของหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24)
ประกอบด้วย จังหวัดเลย ประกอบไปด้วย (อำเภอนาแห้ว อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอท่าลี่ อำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบึงโขงหลง อำเภอบุ่งคล้า อำเภอปากคาด) จังหวัดนครพนม (อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอเมืองนครพนม อำเภอธาตุพนม) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดอนตาล อำเภอหว้านใหญ่) จังหวัดอำนาจเจริญ(อำเภอชานุมาน) และจังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขมราฐ)
โดยมอบหมายให้ กองทัพภาคที่ 2 รับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ในการวางแผน บูรณาการ อำนวยการ และประสานการปฏิบัติในการสกัดกั้น ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งหน่วยได้ยึดถือ กรอบแนวทางการปฏิบัติใน 6 มาตรการหลัก คือ มาตรการสกัดกั้น, มาตรการปราบปราม, มาตรการป้องกัน, มาตรการบำบัดรักษา, มาตรการบูรณาการ และมาตรการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ในทุกมาตรการ เพื่อให้พื้นที่รับผิดชอบ ปลอดจากการลักลอบนำเข้ายาเสพติด, ไม่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด, ปัญหา ยาเสพติดด้านอื่นๆ ได้รับการแก้ไขประชาชนเกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างยั่งยืน
โดยสรุปสถิติ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 17 ธันวาคม 2567 ในห้วงตั้งแต่ 1 ต.ค. – 17 ธ.ค. 67 มีการดำเนินการตาม 6 มาตรการหลักอย่างเข้มข้น และนำไปสู่การ จับกุม 294 ครั้ง, ผู้ต้องหา 431 ราย,ตรวจยึดของกลางยาบ้า 45,569,926 เม็ด, ไอซ์ 1,528.548 กิโลกรัม, เฮโรอีน 101.95กิโลกรัม และอื่นๆ รวมเป็นมูลค่า 3,017,724,660 บาท