ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 “หมอเจด-เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์” รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา หรือที่หลายคนรู้จักดีเจ้าของเพจเฟซบุ๊กหมอเจด ที่มักจะโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ปรากฏว่าได้ออกมาพูดเรื่องความเชื่อของคนไทยที่บอกว่า ถ่ายทุกเช้าดีต่อสุขภาพ หากวันไหนไม่ถ่ายคือระบบย่อยมีปัญหา

ซึ่งคุณหมอเขียนอธิบายว่า “เคยสงสัยกันไหมว่า ถ่ายทุกวันถึงจะสุขภาพดีจริงหรือเปล่า? หรือถ้าวันไหนไม่ได้ถ่าย แปลว่าระบบย่อยอาหารเรามีปัญหา? จริง ๆ แล้วเรื่องถ่ายมันซับซ้อนกว่าที่คิดนะ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ต้องถ่ายวันละกี่ครั้งถึงจะปกติ ถ่ายแบบไหนเรียกว่าดี และถ้าถ่ายผิดปกติควรทำยังไง”

1. เราต้องถ่ายทุกวันไหม?
ถ่ายมันเป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งความสุขภาพดีเนาะ ใครไม่ถ่ายก็นอยละ คิดว่าตัวเองผิดปกติ บางคนถ่ายทุกเช้าเหมือนเป็นกิจวัตร แต่บางคนสองวันถ่ายที หรือบางทีสามวันกว่าจะมา อันไหนปกติคำตอบคือเรา “ไม่จำเป็นต้องถ่ายทุกวันนะ” งานวิจัยบอกนะครับว่า ช่วงที่ถือว่าปกติคือ 3 ครั้งต่อวัน จนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จำง่าย ๆคือ “สามสาม” ถ้าคุณถ่ายทุกวัน แปลว่าร่างกายคุณอาจเผาผลาญเร็วและย่อยดี แต่ถ้าคุณถ่ายวันเว้นวัน หรือถ่ายแค่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็ยังถือว่าปกติ ถ้าไม่มีอาการท้องอืดหรือแน่นท้องแต่ต้องเริ่มกังวลเมื่อไหร่? ถ้าถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจเข้าข่าย “ท้องผูก” ถ้าถ่ายบ่อยเกินวันละ 3 ครั้ง หรือถ่ายเหลว อาจเข้าข่าย “ท้องเสีย”

2. ของเสียแบบไหนถึงเรียกว่าขับถ่ายดี?
นอกจากดู “ความถี่” แล้วลักษณะของเสีย ก็สำคัญจริง ๆ มันมีตาราง Bristol Stool Chart เอาไว้แบ่งประเภทอึออกเป็น 7 แบบนะ
– ถ่ายแข็งเป็นเม็ดเล็กๆ (Type 1) ท้องผูกหนักมาก ร่างกายดูดน้ำจากอึมากไป
– ถ่ายแข็งเป็นก้อนยาว (Type 2) ท้องผูกเล็กน้อย ควรกินไฟเบอร์เพิ่ม
– ถ่ายเป็นแท่งยาว มีรอยแตกเล็กๆ (Type 3) ปกติแต่ยังขาดความชุ่มชื้น
– ถ่ายเป็นแท่งเรียบ ลื่น (Type 4) ปกติที่สุด ถ่ายออกง่ายไม่ต้องเบ่งเยอะ
– ถ่ายเป็นก้อนนิ่ม ๆ หลายชิ้น (Type 5) เริ่มไปทางอ่อนนิ่ม กินไฟเบอร์เยอะเกินไป
– ถ่ายเป็นเนื้อเหลว (Type 6) ท้องเสียเล็กน้อย ลำไส้เคลื่อนตัวเร็วเกินไป
– ถ่ายเป็นน้ำไม่มีเนื้อเลย (Type 7) ท้องเสียหนักอาจเกิดจากอาหารเป็นพิษถ่ายที่ “ดีที่สุด” ควรเป็น Type 3 หรือ 4 เพราะเป็นก้อนนุ่ม ขับถ่ายออกง่าย ไม่ต้องเบ่งเยอ

3. อาหารส่งผลต่อถ่ายยังไง?
อาหารที่เรากินมีผลโดยตรงกับลักษณะของเสีย
– กินผักเยอะ ไฟเบอร์สูง ถ่ายเป็นก้อนนิ่ม ขับถ่ายง่าย
– กินเนื้อเยอะ ไขมันเยอะ ถ่ายอาจแข็งขึ้น หรือขับถ่ายน้อยลง
– กินของหวานเยอะ แอลกอฮอล์เยอะ ถ่ายอาจเหลวหรือขับถ่ายบ่อยขึ้นการกินส่งผลต่ออึเรามากนะครับ
ดูอย่าง Carnivore Diet คือการกินแต่เนื้อสัตว์และไขมัน ไม่มีไฟเบอร์เลย เพราะฉะนั้นบางคนถ่ายน้อยลง แต่ไม่ได้แปลว่าท้องผูก เพราะร่างกายดูดซึมสารอาหารไปใช้หมด ทำให้มีของเสียออกมาน้อย บางคนอาจถ่ายน้อยลงเหลือ 2-3 วันครั้ง และถ่ายอาจแข็งขึ้นและมีกลิ่นแรง รวมไปถึงบางคนอาจมีท้องเสียในช่วงแรก เพราะร่างกายต้องปรับตัวกับการเผาผลาญไขมันสูงถ้ากิน Carnivore Diet แล้วรู้สึกสบายท้อง ไม่มีอาการอึดอัด ก็ถือว่าปกตินะ

4. ท้องผูก vs ท้องเสีย แก้ยังไง?
แล้วถ้ารู้สึกว่าขับถ่ายผิดปกติ ลองแก้ไขตามนี้ได้เลยถ้าท้องผูก
– ดื่มน้ำเยอะขึ้น (วันละ 2-3 ลิตร)
– กินอาหารที่มีไฟเบอร์ (ผัก ผลไม้ ธัญพืช)
– ออกกำลังกาย เช่น เดินหลังอาหาร
– กินอาหารที่มีโพรไบโอติกส์หรือกินเป็นอาหารเสริมก็ได้ถ้าท้องเสีย
– หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด นม หรือของเผ็ด
– ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนน้ำที่เสียไป
– กินอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม ต้มจืด
– ถ้าอาการรุนแรงเกิน 48 ชั่วโมง ควรพบรีบหาหมอ

5. สรุปง่าย ๆ เราไม่จำเป็นต้องถ่ายทุกวัน
ถ้าถ่ายไม่บ่อยแต่ไม่มีอาการแน่นท้อง หรือท้องเสียแต่ไม่รุนแรง ก็ไม่ต้องเครียดนะครับ สำคัญคือขับถ่ายแล้วรู้สึกดี ก็พอแล้วอีกอย่างที่อยากฝากทุกคนคือ สังเกตของเสียตัวเองด้วยนะ มันก็เป็นสัญญาณบอกโรค อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน…

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @หมอเจด