เคยสงสัยกันหรือไม่? บางคนเมื่อต้องขับรถยาวๆหลังกินข้าวอิ่ม กลับเกิดอาการ “ง่วง” ขึ้นมาเสียเฉยๆ แต่บางคนกลับเป็นปกติมากๆ จริงๆแล้วทราบกันหรือไม่ว่าอาการเหล่านี้ มีอันตรายที่น่ากลัวแฝงอยู่มากกว่าที่คิด
โดยล่าสุดทางด้าน นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ ได้ออกมาให้ข้อมูลผ่านแฟนเพจ “หมอจิรรุจน์” ระบุว่า “ขับรถยาวๆหลังกินข้าว…ง่วงทุกที ระบบเผาผลาญ ยังไม่เข้าที่หรือเปล่าครับ…. จะว่าแบบนั้นก็อาจเจอได้ แต่ที่น่ากลัวกว่าก็คือ การที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในรถมากเกินไป…”

ด้านบน เพียงแค่ขับรถประมาณ 20 นาที จากเริ่มต้นคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 400 กว่าๆ ขึ้นมาเป็นเกือบ 1,500 ppm อันนี้เฉพาะผมนั่งคนเดียวนะครับ ซึ่งในระดับนี้อาจทำให้เกิด ความรู้สึกอ่อนเพลีย อึดอัดไม่สบายตัว หรือรู้สึกง่วงได้สบายๆ
“ดังนั้นการขับรถเป็นเวลานาน สิ่งที่ควรทำคือการกดปุ่ม ให้อากาศจากภายนอกเข้ามา เพื่อไล่คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการ หายใจออกของเรา ยิ่งมีผู้โดยสารหลายคน ยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” จากรูปจะเห็นว่า เพียงแค่เปิดปุ่มเอาอากาศภายนอกเข้ามา เพียงแค่ 5 นาที ก็สามารถลด คาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในห้องโดยสารได้อย่างมาก
แต่สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่เพิ่มมากขึ้น จะอากาศ ภายนอกห้องโดยสาร ยิ่งถ้าไปจอดติดไฟแดง เจอรถคันหน้าเครื่องดีเซลควันดำด้วยล่ะก็ ดูไม่จืดเลยครับ “เพราะฉะนั้นการเปิด อากาศภายนอกเข้ามา ควรทำเพื่อรถวิ่งเท่านั้น หากจอดในที่ที่มี รถคันหน้า หรือติดไฟแดงอยู่ อันนี้ไม่แนะนำนะครับ” รถรุ่นนี้ใช้กรองแอร์ ที่สามารถกรองฝุ่นจิ๋วได้ จึงเห็นว่า อากาศในรถตอนเริ่มต้น มีฝุ่นอยู่น้อยมากๆ..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @หมอจิรรุจน์