ศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบ ลีก เฟส ประจำวันพุธที่ 22 มกราคม ระหว่าง […]
หลังจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ยืนยัน ซาอุดีอาระเบีย ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2034 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเป็นชาติจากตะวันออกกลางชาติที่ 2 ต่อจากกาตาร์ ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2022
ซาอุดีอาระเบีย กำลังดำเนินการสร้างสนามใหม่ 11 แห่งเพื่อรองรับการจัดงานในปี 2034 พร้อมกับปรับปรุงสนามกีฬาอีก 4 แห่ง รวมเป็น 15 สนาม ใน 5 เมืองสำคัญทั่วประเทศ ได้แก่ ริยาด (8 แห่ง), เจดดาห์ (4 แห่ง), อัล โคบาร์ (1 แห่ง), อับฮา (1 แห่ง) และ นีออม (1 แห่ง) มาติดตามกันว่ามีสนามอะไรบ้าง
saudi2034.com.sa
King Salman International Stadium
King Salman International Stadium
ได้รับการออกแบบโดย Populous ตั้งอยู่ในกรุงริยาด มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2029 ด้วยความจุ 92,000 ที่นั่ง การออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากภูเขาและภาพเรนเดอร์แสดงให้เห็นแผงภูมิทัศน์ที่ล้อมรอบโครงสร้าง หลังจากฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้จะกลายเป็นสนามกีฬาแห่งชาติอย่างเป็นทางการของซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากเป็นสนามกีฬาที่มีความจุที่นั่งสูงสุดของประเทศ จึงสามารถดึงดูดและรองรับงานสำคัญระดับชาติต่างๆ ได้มากมาย รวมถึงคอนเสิร์ตและงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : นัดเปิดสนามและนัดชิงชนะเลิศ
saudi2034.com.sa
King Fahad Sports City Stadium
King Fahad Sports City Stadium
สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงริยาดจะปรับปรุงใหม่เพื่อเพิ่มความจุ 70,200 ที่นั่ง เดิมทีสนามกีฬาแห่งนี้มีความจุที่นั่ง 58,398 ที่นั่ง และมีลักษณะเด่นคือโครงหลังคาขนาดใหญ่คล้ายเต็นท์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2026
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย, รอบก่อนรองชนะเลิศ และ รอบรองชนะเลิศ
saudi2034.com.sa
Prince Mohammed bin Salman Stadium
Prince Mohammed bin Salman Stadium
สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตาม โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย อยู่ห่างจากริยาด 30 กิโลเมตร ได้รับการออกแบบโดย Populous และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2029 จะสามารถรองรับผู้ชมได้ 50,000 ที่นั่ง สนามกีฬาริมหน้าผาจะมีอัฒจันทร์สามด้าน และผนัง LED ขนาดใหญ่ที่ยืดปรับได้ ส่วนหลังคาเปิดปิดได้ นอกจากนี้อาคารดังกล่าวยังจะมีพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกรวมอยู่ด้วย
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบชิงอันดับ 3
saudi2034.com.sa
New Murabba Stadium
New Murabba Stadium
สนามกีฬาตั้งอยู่ในกรุงริยาด การออกแบบได้แรงบันดาลใจจากพื้นผิวซ้อนทับหลายชั้นของต้นอะคาเซียพื้นเมือง ถูกล้อมรอบไปด้วยหินรูปร่างต่างๆ มากมายที่ถูกแบ่งด้วยหุบเขา มีกำหนดสร้างเสร็จในปี 2032 ด้วยความจุ 46,010 ที่นั่ง
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
ROSHN Stadium
ROSHN Stadium
สนามกีฬาในกรุ่งริยาด ทางตะวันตกเฉียงใต้ มีความจุ 46,000 ที่นั่ง การออกแบบตัวสนามจะอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกับคริสตัลที่ลอยขึ้นไปในอากาศที่สามารถเรืองแสงได้ในท้องฟ้ายามค่ำคืน กำหนดการสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2032
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
Prince Faisal bin Fahad Sports City Stadium
Prince Faisal bin Fahad Sports City Stadium
ตั้งอยู่ในกรุงริยาด ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2027 รองรับผู้ชมได้ 46,865 คน ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักสถาปัตยกรรมซัลมานีที่เน้นความทันสมัยตามบริบททางวัฒนธรรม สนามกีฬานี้จะสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่น และใช้ระบบประหยัดพลังงาน รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่บนหลังคาอีกด้วย
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
South Riyadh Stadium
South Riyadh Stadium
สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการ “โมเดิร์นนิสม์เชิงบริบททางวัฒนธรรม” ของสถาปัตยกรรมซัลมานี หลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาชีพและเป็นสถานที่จัดงานกีฬาและความบันเทิง โดยมีแผนพร้อมใช้งานภายในปี 2032 ด้วยความจุรวม 47,060 ที่นั่ง
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
King Saud University Stadium
King Saud University Stadium
สนามกีฬาในกรุงริยาด ได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2034 สนามกีฬาแห่งนี้มีความจุ 46,319 ที่นั่ง โดยตั้งอยู่ติดกับ U Walk ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาแบบผสมผสานของมหาวิทยาลัย King Saud ปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลซาอุดี โปรลีก และงานกีฬาสำคัญอื่นๆ
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
King Abdullah Sports City Stadium
King Abdullah Sports City Stadium
สนามแหน่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองเจดดาห์ มีความจุ 58,432 ที่นั่ง สร้างขึ้นในปี 2014 และเป็นที่รู้จักในชื่อ “The Shining Jewel” (อัญมณีอันเจิดจรัส) จากสถาปัตยกรรมเรขาคณิตอันโดดเด่น ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอิสลามมาผสมผสานกันเพื่อสร้างรูปลักษณ์ของสนามกีฬา โดยใช้ฉากกั้นแบบมาชราบียา (Mashrabiya) แบบดั้งเดิมซึ่งให้ความเป็นส่วนตัวและร่มเงา พร้อมทั้งระบายอากาศได้ดี เนื่องจากสภาพอากาศร้อนเกือบทั้งปี การปรับปรุงที่วางแผนไว้จะปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อกำหนดของฟีฟ่า และมีกำหนดการแล้วเสร็จภายในปี 2032
เนื่องจากเป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของซาอุดีอาระเบีย รองจากสนามกีฬา คิง ฟาฮัด ในกรุงริยาด จะยังใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2023 อีกด้วย
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบก่อนรองชนะเลิศ
saudi2034.com.sa
Qiddiya Coast Stadium
Qiddiya Coast Stadium
สนามกีฬาแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่เมืองเจดดาห์ ใจกลางการพัฒนาชายฝั่ง Qiddiya บนชายฝั่งทะเลแดง การออกแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงเอฟเฟกต์ระลอกคลื่นของ Mexican wave “คลื่นเม็กซิกัน” ด้วยเฉดสีที่เข้มข้นและสนุกสนาน มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2032 มีความจุ 46,096 ที่นั่ง
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย
saudi2034.com.sa
Jeddah Central Development Stadium
Jeddah Central Development Stadium
สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเจดดาห์ มีความจุ 45,794 ที่นั่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2027 สนามกีฬาจะถูกล้อมรอบไปด้วยอาคารต่างๆ ที่ทำให้ดูเหมือนเป็นแหล่งรวมของโครงสร้างประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเขตอัลบาลัดอันเก่าแก่ของเมือง สนามมี 3 ชั้น โดยมีชานชาลาด้านนอกที่เชื่อมต่อกับ “หมู่บ้าน” โดยรอบอีก 4 แห่ง ชานชาลาสนามกีฬามีหลังคาโปร่งแสงคลุมทั้งหมด พร้อมหลังคาด้านในเปิดปิดได้ และหน้าจอ LED 360 องศา
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
King Abdullah Economic City Stadium
King Abdullah Economic City Stadium
สนามตั้งอยู่ห่างจากเมืองเจดดาห์ 80 กิโลเมตร และจะเป็นส่วนหนึ่งของเมืองใหม่ที่วางแผนไว้บนชายฝั่งทะเลแดง การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากการเติบโตของแนวปะการังในท้องถิ่น มีแผนจะสร้างเสร็จในปี 2032 จะรองรับผู้ชมได้ 45,700 คน
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม และ รอบ 32 ทีม
saudi2034.com.sa
Aramco Stadium
Aramco Stadium
สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองอัล โคบาร์ บนชายฝั่งอ่าวอาหรับ กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สนามกีฬาแห่งนี้ออกแบบลักษณะรูปทรงน้ำวนเลียนแบบใบเรือที่ทับซ้อนกันและดึงเอาลวดลายคลื่นธรรมชาติที่สวยงามมาผสมผสานกับทิวทัศน์ชายฝั่งได้อย่างลงตัว มีความจุ 46,096 ที่นั่ง กำหนดสร้างเสร็จในปี 2026 และจะถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย 2027
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย
saudi2034.com.sa
King Khalid University Stadium
King Khalid University Stadium
สนามกีฬาที่มีอยู่นี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอับฮา โดยเปิดใช้ครั้งแรกในปี 1987 ปัจจุบันมีความจุ 12,000 ที่นั่ง และจะทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยขยายเพิ่มเป็น 45,428 ที่นั่ง จะพร้อมใช้งานภายในปี 2032
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย และ รอบ 16 ทีมสุดท้าย
saudi2034.com.sa
NEOM Stadium
NEOM Stadium
สนามกีฬาตั้งตามชื่อของเมืองนีออม ได้รับการขนานนามว่าเป็น “สนามกีฬาที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก” โดยจะถูกรวมเข้ากับเมืองยักษ์ The Line โปรเจกต์เมืองแห่งอนาคต ด้วยสนามที่ตั้งอยู่สูงกว่า 350 เมตรเหนือพื้นดินและหลังคาที่สร้างจากตัวเมืองเอง มีความจุ 46,010 ที่นั่ง หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ที่นี่จะเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาชีพและเป็นศูนย์กลางของโปรแกรมกีฬาและไลฟ์สไตล์ของเมือง มีแผนจะสร้างเสร็จภายในปี 2032
มีกำหนดใช้ในการแข่งขัน : รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 32 ทีมสุดท้าย, รอบ 16 ทีมสุดท้าย และ รอบก่อนรองชนะเลิศ
ที่มา : https://saudi2034.com.sa/cities/riyadh/
ที่มา : https://parametric-architecture.com
ที่มา : www.dezeen.com